ค้นหา

กระบวนการกลึง


งานกลึง

งานกลึงเป็นการขึ้นรูปในลักษณะของทรงกระบอก โดยชิ้นงานจะหมุนอยู่กับที่รอบตัวเอง ส่วนเครื่องมือตัดจะเคลื่อนที่เข้าหาชิ้นงานเพื่อตัดชิ้นงานเป็นรูปร่างต่างๆ ดูวีดีโอด้านล่างประกอบ


 
 (ขอบคุณวีดีโอจาก https://www.youtube.com/watch?v=tDc0l9Gm8D4)

ชิ้นงานที่ได้จากงานกลึงพื้นฐานจะมีลักษณะเป็นรูปทรงประบอก ทั้งในการกลึงนอก เช่น  ชิ้นงานจำพวก เพลา, งานกลึงภายใน เช่น บู๊ต, กระบอกสูบ, การกลึงเกลียว เป็นต้น

ตัวอย่างชิ้นงานจากงานกลึง


เพลา

กระบอกสูบ
กลึงเกลียว


ชนิดของงานกลึง

ชนิดของงานกลึงแบ่งออกตามลักษณะรูปร่างและการขึ้นรูปของงานกลึง ส่วนใหญ่ก็จะแบ่งออกเป็นการกลึงภายนอกและการกลึงภายใน แต่สามารถแบ่งย่อยออกได้ดังนี้

การกลึงชนิดต่างๆ


1.งานกลึงปาดหน้า

งานกลึงปาดหน้า เป็นลักษณะของปาดผิวในแนวแกน Z (แกน Z ไม่ว่าจะเป็นงานกลึงหรืองานกัดให้สังเหตว่าจะอยู่แนวดียวกับแกน Spindle เสมอ) ชิ้นงานที่ผ่านการกลึงปาดหน้าจะมีขนาดสั้นลง


การกลึงปาดหน้า

2.งานกลึงปอกนอก

การกลึงปอกภายนอกเป็นการกลึงเพื่อลดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางนอกให้มีขนาดลดลง มีดกลึงจะเคลื่อนที่เข้าออกตามแนวแกน Z จะเป็นขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลาง ส่วนแการเคลื่อนที่ในแนวแกน X จะเป็นความยาวหรือระยะที่ต้องการกลึงปอกออกไป

การกลึงปอกภายในอก
   

3.งานกลึงปอกใน/กลึงคว้าน

การกลึงปอกในคล้ายกับการกลึงปอกภายนอก แต่จะต่างกันตรงที่เป็นการกลึงปอกภายในหรือการกลึงคว้านรู ขนาดของรูจะมีขนาดโตขึ้นหลังจากการกลึง

การกลึงปอกภายใน
 

4.งานกลึงเรียว

การกลึงเรียวเป็นการกลึงปอกชนิดหนึ่ง มีทั้งการกลึงเรียวภายนอกและการกลึงเรียวภายใน จะไม่ค่อยเจอมากนัก การกลึงเรียวเส้นผ่านศูนย์กลางของจุดเริ่มต้นกับจุดสิ้นสุดจะไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับอัตราเรียวหรือขนาดที่กำหนดแต่ละตำแหน่ง

การกลึงเรียว

5.งานกลึงเกลียว

การกลึงเกลียว เป็นกระบวนการขึ้นรูปเกลียวอย่างหนึ่งนอกจากกระบวนการต๊าป(Tap) สำหรับการทำเกลียวใน และกระบวนการดาย(Die) สำหรับการทำเกลียวนอก  ซึ่งอาจจะมีข้อจำกัดที่แตกต่างกันออกไป
ลักษณะของการเคลื่อนที่ของมีดกลึงในงานกลึงกลึงคล้ายกับการกลึงปอกซึ่งจะมีทั้งการกลึงเกลียวภายนอกและการกลึงเกลียวภายใน  แต่จะต่างกันตรงที่การเคลื่อนที่ของการกลึงปอกจะเคลื่อนที่เป็นเส้นตรง ทำให้ชิ้นงานมีลักษณะเรียบ ส่วนการเคลื่อนที่ของการกลึงเกลียวเป็นการเคลื่อนที่ตามระยะ pitch ของเกลียวตามที่เรากำหนด ถ้าเป็นเครื่องกลึงแบบธรรมดา จำเป้นต้องมีชุดเฟืองสำหรับการกลึงเกลียวจึงจะสามารถกลึงเกลียวได้ ส่วนถ้าเป็นเครื่องกลึงแบบอัตโนมัติ (CNC machine) จะเป็นการเคลื่อนที่ตามโปรแกรมสามารถปรับขนาดของเกลียวได้ตามอิสระหลากหลายกว่า.

การกลึงเกลียว

6.งานกลึงตกร่อง

การกลึงตกร่องเป็นลักษณะของการกลึงปอกและกลึงปาดหน้าผสมผสานกันขึ้นอยู่กับขนาดของร่องและความเรียบผิวที่ต้องการในแต่ละด้าน บางครั้งจำเป็นต้องใช้มีดกลึงตกร่องชนิดพิเศษ

กลึงตกร่อง
 

7.งานกลึงตัด

งานกลึงตัด เป็นการกลึงตัดให้ชิ้นงานขาดออกจากกัน ในงานกลึงจำเป็นต้องมีกระบวนการตัดเข้ามาเพื่อลดเวลาในการผลิตชิ้นงาน โดยเฉพาะการผลิตแบบจำนวนมาก.
การกลึงตัดต้องใช้มีดที่ออกแบบมาโดยเฉพาะเนื่องจากว่าขณะที่ตัดชิ้นงานจะเกิดแรงเสียดทานค่อนข้างสูง ตามขนาดของชิ้นงาน ยิ่งหน้าสัมผัสเยอะก็จะต้องรับโหลดสูง


การกลึงตัด

นอกจากนี้ที่กล่าวมาก็จะเป็นงานกลึงแบบผสมผสานหลายๆ ชนิดด้านบนมารวมกัน